นักโบราณคดีได้แปลความหมายของจารึกลานทองว่า พระผงสุพรรณมีสร้างจากมวลสาร 2 ชนิด คือ พระเนื้อดินเผาที่ผสมจากว่านและเกสรต่าง ๆ และอีกชนิดคือ พระผงสุพรรณที่ทำจากแร่ตามจารึกว่า “ได้เอาแร่ต่าง ๆ มีอานุภาพต่างกัน ถ้าผู้ใดพบพระทำด้วยแร่สังฆวานรก็ดี” ซึ่งน่าจะเป็นพระผงสุพรรณเนื้อชินหรือพระสุพรรณยอดโถ
จุดพิจารณาของพระผงสุพรรณนั้น เนื้อดินของพระผงสุพรรณเป็นเนื้อดินค่อนข้างละเอียด แต่ไม่ละเอียดเท่าพระรอดกรุวัดมหาวัน เนื่องจากดินแต่ละแห่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนกัน และนำน้ำว่านมาผสมเข้ากับมวลสารเกสรร้อยแปด เหตุเพราะสันนิษฐานจากพระผงสุพรรณนั้น หากโดนเหงื่อผิวองค์พระจะหนึกนุ่มขึ้นเงาหรือที่เรียกว่าแก่ว่าน นั่นเอง