===Not Click=== ===Not Click===

พระผงสุพรรณ

พระผงสุพรรณ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี

พระผงสุพรรณ เป็นพระเครื่องที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผา จำลองพุทธลักษณะองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในลักษณะการปางมารวิชัย แบ่งแยกแม่พิมพ์ได้เป็นพิมพ์หน้าแก่ พิมพ์หน้ากลาง และพิมพ์หน้าหนุ่ม (สมัยโบราณเรียกพิมพ์หน้าหนู)

พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าหนุ่ม



เอกลักษณ์พระผงสุพรรณ

องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัย บนฐานเชียงชั้นเดียว พระเกศคล้ายฝาละมี มีกระจังหน้า พระพักตร์เคร่งขรึม พระนาสิกหนาใหญ่ พระอุระหนา ส่วนพระการทอดเรียว แสดงออกถึงศิลปะสกุลช่างอู่ทองที่เน้นความละม้ายคล้ายคลึงกับมนุษย์มากที่สุด ด้วยเหตุนี้ เมื่อพบพิมพ์พระ ๓ ประเภท จึงเรียกชื่อตามลักษณะพระพักตร์และตามศิลปะสกุลช่างแห่งพระพุทธรูปที่พระพักตร์เหี่ยวย่นเหมือนคนแก่ เรียกว่า พิมพ์หน้าแก่ ที่พระพักตร์อิ่มเอิบเรียวเล็ก ปราศจากรอยเหี่ยวย่น เรียกว่าพิมพ์หน้าหนุ่ม
พิมพ์หน้าหนุ่มพิมพ์หน้าหนุ่ม  พิมพ์หน้ากลางพืมพ์หน้ากลาง    พิมพ์หน้าแก่  พิมพ์หน้าแก่  

พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้ากลาง

การสร้างและมวลสาร

พระผงสุพรรณ เป็นพระเครื่องที่มีส่วนผสมวัสดุมวลสารจากดินละเอียด ว่าน และเกสรต่าง ๆ คนโบราณเรียกว่า “พระเกสรสุพรรณ” จะสังเกตได้ว่าเนื้อดินของพระผงสุพรรณเป็นเนื้อดินค่อนข้างละเอียด หากเปรียบเทียบกับพระนางพญากรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก แล้วจะเห็นว่าเนื้อพระผงสุพรรณจะละเอียดกว่า แต่ไม่ละเอียดมากเหมือน พระรอดกรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน ซึ่งดินที่ใช้เป็นดินในบริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งดินแต่ละที่จะมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนกัน สำหรับปัญหาที่ว่า หากผสมว่านเมื่อพระผ่านการเผา มวลสารของว่านจะไม่สามารถทนอุณหภูมิความร้อนได้ ต้องย่อยสลายไปนั้น หากพิจารณาแล้วในองค์พระผงสุพรรณก็ไม่ปรากฏโพรงอากาศอันเกิดจากการย่อยสลายของเนื้อว่าน แต่อย่างใดนั้น ต้องพิจารณาถึงกรรมวิธีการสร้างพระของโบราณาจารย์เป็นสำคัญว่า มีหลายวิธี วิธีประการหนึ่งซึ่งพบหลักฐานในการนำว่านผงเกสรมงคล ๑๐๘ มาเป็นวัตถุมงคลในการสร้างพระ ได้แก่ การนำหัวว่านมงคลต่าง ๆ มาคั้นเอาน้ำว่านเป็นส่วนผสมเข้ากับมวลสารอื่น ๆ ซึ่งจะพบว่าพระผงสุพรรณนั้นมีความหนึกนุ่ม และซึ้งจัด หากได้โดนเหงื่อโคลนแล้ว ยิ่งขึ้นเป็นมันเงางามอย่างที่คนโบราณเรียกว่า “แก่ว่าน” ซึ่งได้แก่การคั้นน้ำว่านผสมลงไป ดังนั้น เมื่อผ่านการเผาจึงมิได้เกิดการย่อย สลายของเนื้อ

และเนื่องจากพระผงสุพรรณเนื้อดินเป็นพระที่ผ่านการเผาไฟ สีสันขององค์พระจึงเป็นเฉกเช่นเดียว กับพระเนื้อดินที่ผ่านการเผาประเภทอื่น ๆ คือ มีตั้งแต่สีเขียวที่ถูกเผาในอุณหภูมิสูงและนานที่สุด สีแดง สีมอย สีน้ำเงินเข้ม สีเทา ไปจนถึงสีดำ

 พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่

การเผาโดยวิธีควบคุมอุณหภูมิส่งผลให้พระผงสุพรรณมีสภาพความแกร่งคมชัด ไม่หักเปราะง่าย แม้จะผ่านกาลเวลาเป็นนาน คนโบราณ จะใช้วิธีสังเกตสีของเปลวไฟที่ลุกไหม้ เป็นหลักในการควบคุมอุณหภูมิการเผาจากการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์พบว่า
- ไฟที่มีสีแดงจัดจ้า อุณหภูมิประมาณ ๘๐๐ องศาเซนเซียส
- ไฟที่มีสีแดงธรรมดา อุณหภูมิประมาณ ๘๘๐ องศาเซนเซียส
- ไฟสีส้ม อุณหภูมิประมาณ ๙๕๐ - ๑๑๐๐ องศาเซนเซียส
- ไฟสีนวล อุณหภูมิประมาณ ๑,๓๐๐ องศาเซนเซียส
- ไฟสีเขียว อุณหภูมิประมาณ ๑,๓๐๐ - ๑,๔๐๐ องศาเซนเซียส
พระผงสุพรรณ จะใช้วิธีการเผา โดยควบคุมอุณหภูมิที่ ๑๑๐๐ - ๑๓๐๐ องศาเซนเซียส องพระจะแกร่งส่วนใหญ่จะมีสีแดง ส่วนสีอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับการถูกความร้อนมาก - น้อย ต่าง ๆ กัน
(ขอบคุณข้อมูลของ อิทธิปาฏิหารย์พระเครื่อง)
                        
เหตุที่เรียกว่า “ผงสุพรรณ”ทั้งๆที่เป็นพระเนื้อดิน เนื่องจากการค้นพบจารึกลานทองกล่าวถึงการสร้างจากผงว่านเกสรดอกไม้อันศักดิ์สิทธิ์ จึงได้รับการเรียกขานกันว่า “ผงสุพรรณ”เรื่อยมา สามารถจำแนกได้เป็น ๓ พิมพ์
๑. พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่
๒. พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้ากลาง
๓. พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าหนุ่ม